ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง  เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความ พอเพียง พออยู่ พอกิน กับตัวเอง (Self Sufficiency)  อยู่โดยไม่เดือดร้อน โดยต้องสร้างสันฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน  คือ  ตั้งตัวให้มีความพอกิน พอใช้ ไม่ใช้มุ้งหวังหรือแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างเดียว  เพราะผู้มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตัวเอง ย่อมสามารถจะสร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นไปตามลำดับต่อไปหลักการที่จะสามารถพึ่งตนเองหรืออุ้มชูได้

ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

           เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นเศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเองอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน โดยสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนให้ดีเสียก่อน  คือ  ตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ เพื่อที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะเศรษฐกิจขั้นสูงขั้นต่อไปได้  จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถทำให้เข้าใจถึงบทบาท และความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1.เป็นแนวคิดที่มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองเป็นหลัก
เป็นการใช้ศักยภาพของคนและ แสวงหาทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดเพื่อชีวิตของตนอยู่รอด 

2. ทำให้เกิดความเข้มแข็งในจิตใจ โดยยึดหลักพึ่งตนเอง เมื่อพึ่งตนเองแล้วก็ทำให้จิตใจสงบ เข้มแข็ง ไม่วิตกกังวล ทำให้สามารถอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง
3. แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าพอมีพอกินแล้วก็จะช่วยลดปัญหาความยากจนได้ในระดับหนึ่ง
4.ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงนั้นความพอดีทางด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกินเพื่ออุ้มชูตัวเองต่อไป
5. ด้านการเมือง ประชาชนทุกฝ่ายน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติจะส่งผลให้กลไกลการพัฒนาทางการเมืองประเทศให้เข้มแข็งและดำรงอยู่ได้ของชาติต่อไป

ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดและปฎิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อนำไปสู่ความพอเพียง ที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฎิบัติของคนไทย
              สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหน่วยการวางแผนเศรษฐกิจและสังคมแห้งชาติ หรือ (สคช) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยขณะนั้นท่าน ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต ประธาน(สคช)ได้สรุปแนวคิดปรัชญาพอเพียงมาเป็นนิยามความหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญนำมาในการจัดทำแผนพัฒนาฉบับที่ 9.10 ตามลำดับ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับเข้าใจ     และนำไปใช้เป็นแนวพื้นฐานทางการดำเนินชีวิต
อย่างไรก็ตาม  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้นำมาเป็นแนวทางการกำหนอนโยบายวางแผนและจัดทำในทุกระดับ และได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาติ   ตามที่ขอพระกรุณา วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นอกจากนี้แล้วเศรษฐกิจพอเพียงยังได้แพร่หลาย ไปในเวทีระดับโลกอีกด้วย เช่น
เวทีการประชุมระดับอาเซียนที่ได้เสนอแนวคิดและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นทางเลือกในการพัฒนาสภาสมาชิกระดับอาเชียน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจพอเพียงยังได้เติบโตอย่างรวดเร็วท้ายที่สุดแนวคิดต่างๆก็ได้เผยแพร่ออกสู่สากลภายในที่สุด เช่น รูปแบบหนังสือ วารสาร  อินเตอร์เน็ต และ CD – ROM  ต่อสาธารณชน

แนวทางการประยุกต์ใช้

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคล / ครอบครัว
              เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้วิชาการและทักษะต่างๆ เพื่อสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆพร้อมทั้งเสริมสร้าง คุณธรรมจนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม โดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของการมีเหตุและผล พอประมาณ จนสามารถพึ่งตนเองได้และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด การพึ่งพาโดยใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นผลประโยชน์ระยะยาวต่อสังคม และประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ทฤษฎีใหม่จะทำให้ครอบครัวมีความมั่นคงด้านต่างๆในระดับหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจระดับครอบครัวเข้มแข็งขึ้น สามารถสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆภายนอกชุมชนอีกด้วย  อันนี้จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้แก่ชุมชนอีกด้วย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน / องค์กร

    ครอบครัวต่างๆที่มีความพอเพียงแล้ว คือ มีความรู้และคุณธรรมเป็นกรอบในการดำเนินชีวิต จนสามารถพึ่งตนเองได้ บุคคลเหล่านี้มารวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่างๆที่สอดคล้องเหมาะสมกับสถานภาพแต่ละสังคมโดยใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านการร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหลายสถานภาพ ในสิ่งที่จะสร้างประโยชน์ของคนส่วนรวม และความก้าวหน้าของชุมชนอย่างมีเหตุผล จนนำไปสู่ความสามัคคีของคนในชุมชน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของชุมชน  จนนำไปสู่การพัฒนาของชุมชนที่สมดุล จนสามารถนำไปสู่การพัฒนาไปสู่เครือข่ายระหว่างชุมชนต่างๆ

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ
              มีแผนการบริหารจัดการประเทศที่ส่งเสริมให้บุคคล ชุมชนต่างๆมีวิธีปฎิบัติ มีความร่วมมือและการพัฒนาในสาขาต่างๆ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และดำเนินการตามแผนดังกล่าวอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการวางรากฐานของประเทศให้มีความพอเพียง โดยส่งเริมประชาชนส่วนใหญ่สามารถอยู่อย่างพอเพียงพึ่งตนเองได้ ด้วยความรู้ และมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต และใช้สติ  พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนสิ่งต่างเพื่อความจริงใจต่อกัน จนนำไปสู่ความสามัคคีในการจัดการกับปัญหายากจนที่นำ ไปสู่ปัญหาหนี้สินดังนั้นสิ่งที่ประเทศจะต้องวางแผนควบคู่ไปด้วย ก็คือ การพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งนำไปสู่การจัดการที่เข็มแข็งได้อย่างยั่งยืน